ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบ
แบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางกัลยา เจาะจง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียน โรงเรียนเมืองสมเด็จ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีระเบียบแบบแผน มีลำดับขั้นตอนในการคิดและต้องอาศัยการคิดอย่างมีเหตุผล การเรียนคณิตศาสตร์เป็นการฝึกแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งยังฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีเหตุผล เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์นั้นส่วนใหญ่สิ่งที่เรียนก่อนจะเป็นพื้นฐานในการเรียนเรื่องต่อไปหรือในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นสูงต่อไป การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ปกติแล้วนักเรียนจะมองว่าเป็นรายวิชาที่ยาก ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้นำเอารูปแบบการสอนแบบ CIPPA MODEL มาประกอบกับแบบฝึกทักษะ เพื่อทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ดูง่ายขึ้นและเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักเรียน การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 /75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 แผน 2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.71 ,ค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ () เท่ากับ 0.80 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
- ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.46/81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
- ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .6348 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 63.48
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยรวมทุกด้าน
อยู่ในระดับมาก
โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยังเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาต่อไป