การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

28/08/2018 เข้าชมแล้ว : 10472

rassamee-k



ชื่อเรื่อง      
    การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะ การอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย             นางรัศมี  กันยานุช  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา      โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ  จังหวัดกาฬสินธุ์

 

บทคัดย่อ

            การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านในระดับมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ  จำเป็นต้องมีรูปแบบการสอนและกระบวนการขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา  การประมวลความรู้ การสร้างความรู้  การรู้คิด  และความพึงพอใจของนักเรียน  การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงมีความเหมาะสมในการนำมาพัฒนาการอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  (1) ศึกษาสภาพปัญหาในการเรียนรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 (2) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  (3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ(4) ประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 47 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม(Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling  unit) ซึ่งแต่ละห้องคละผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนอ่อน  ปานกลาง  และเก่ง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  (1) รูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครอบคลุมแผนการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระเรื่องการอ่าน  จำนวน  10 แผน  ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 10 เรื่อง  ใช้เวลาในการสอนแผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง  (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.79  ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.70  และค่าความเชื่อมั่น 0.92  (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน จำนวน 24 ข้อ  และ (4) แบบประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทยแบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ t-test (Dependent Samples) แบบไม่อิสระ  และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนเมืองสมเด็จ คือ  ขาดทักษะในการคิด  การแก้ปัญหาอย่างไม่มีมีเหตุผล และยึดครูเป็นศูนย์กลาง ส่วนครูขาดเทคนิควิธีสอน ไม่มีการฝึกให้เด็กใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยยึดแนวคิด ทฤษฎีรูปแบบการสอนเชิงระบบของจอยซ์และไวล์(Joyce and Weil. 2009 : 1-25)ประกอบกับแนวคิด ทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive theory) ของ     เพียเจท์ (Piaget) ทฤษฎีกระบวนการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) และทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist Theory)    มาใช้ในการการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย     แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยแบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5  ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Motivation for learning : M)  (2) ขั้นจัดระเบียบการเรียนรู้ (Organizing the learning : O) (3) ขั้นเรียนรู้ด้วยการคิด (Learning by thinking : L) (4) ขั้นสรุปความรู้ (Summarizing the knowledge : S) และ (5) ขั้นประเมินผล (Evaluating the esult : E)
  3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผลดังนี้ 

               3.1) ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 83.82/85.18  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนมีค่าเท่ากับ 0.7506 หมายความว่า  นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.06

               3.2) นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3.3)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.65,  S.D. = 0.67) 

  1. ผลการประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทย แบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการสอนมีคุณภาพและเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.82)

           สรุปได้ว่า รูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ (MOLSE Model)        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วยพัฒนาการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงควรได้รับการสนับสนุนให้ครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนนำรูปแบบการสอนภาษาไทยแบบ MOLSE Model ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้ไปเผยแพร่และใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโอกาสต่อไป