การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้าน การบริหารจัดการโรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

06/02/2024 เข้าชมแล้ว : 2577
Last Modified : 07/02/2024

Dr.prayu
ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้าน การบริหารจัดการโรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้วิจัย นายพายุ วรรัตน์

ปีที่จัดทำ 2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ 2. พัฒนารูปแบบการบริหาร 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหาร 4. ประเมินผลรูปแบบการบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการบริหารจัดการโรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย ในปีการศึกษา 2564 รวม 485 คน กลุ่มเป้าหมาย จ านวน 51 คน ผู้บริหารและครู จ านวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน จ านวน 13 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากประชากรนักเรียน จ านวน 527 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 217 คน ผูปกครองนักเรียน จากประชากร จ านวน 512 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน และสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน แล้วสมุ่อย่างง่าย โดยวิธีจับสลาก มีวิธีด าเนินการวิจัย เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การศึกษาและส ารวจข้อมูลพื้นฐาน 2. การพัฒนารูปแบบการบริหาร 3. การทดลองใช้รูปแบบ การบริหาร และ 4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารที่ใช้โรงเรียน เป็นฐาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนา และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในภาพรวม 6 ด้าน พบว่า ทุกด้านมีการด าเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงล าดับจากมากไปหาน้อยที่สุด คือ ด้านการมี ภาวะผู้น าแบบเกื้อหนุน ด้านการบริหารตนเอง ด้านการบริหารทั้งระบบ ด้านการบริหารแบบมีส่วน ร่วม ด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และด้านการกระจายอ านาจ ตามล าดับ ส่วนสภาพความ ต้องการด าเนินการในภาพรวมทุกด้าน พบว่ามีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ย ความต้องการมากที่สุด คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบที่ ตรวจสอบได้และด้านการกระจายอ านาจ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนเมืองสมเด็จ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนน า ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ แนวคิดและหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ สภาพแวดล้อม ภายนอก ปัจจัยป้อนเข้า กระบวนการ ผลผลิต/ผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3 แนวทางการน า รูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 การประเมินรูปแบบและส่วนที่ 5 เงื่อนไขความส าเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนเมืองสมเด็จ โดยสรุปผลได้ดังนี้
3.1 ผลการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระดับอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ เรียงระดับการพัฒนาจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านความรับผิดชอบที่ ตรวจสอบได้ และด้านการกระจายอ านาจ ด้านการบริหารทั้งระบบ ด้านการบริหารตนเอง ด้านการมี ภาวะผู้น าแบบเกื้อหนุน ตามล าดับ
3.2 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนเมืองสมเด็จ ตามเกณฑ์ คุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานคุณภาพตัวอย่างท้องถิ่นกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า ผลการประเมิน โดยภาพรวม ร้อยละ 84.09 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยเรียงค่าร้อยละจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ร้อยละ 86.29 ด้านคุณภาพนักเรียน ร้อยละ 84.34 ดา้น ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน ร้อยละ 84.08 ด้านบริหารจัดการ ร้อยละ 84.07 ด้านบุคลากรและการบริหารบุคลากร ร้อยละ 83.88 และด้านความดีเด่นของสถานศึกษา ร้อยละ 81.91
3.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนเมืองสมเด็จ ตาม แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 4 (พ.ศ. พ.ศ. 2565–2569) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สรุปว่า ผลการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาในภาพรวม ได้มาตรฐานระดับด ีเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ได้มาตรฐานระดับดีเลิศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ และมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน ได้มาตรฐาน ระดับดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 3 ดา้น
4. สรุปผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนเมืองสมเด็จ
4.1 ผลการวิเคราะห์การศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการศึกษาของโรงเรียนเมืองสมเด็จ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการวิเคราะห์การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเมืองสมเด็จ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มากที่สุด คือ ด้านความเป็นไปได้ รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นประโยชน์ ตามล าดับ