ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะ
ผู้ศึกษา นางรัศมี กันยานุช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการคิดแก้ปัญหาวิเคราะห์สังเคราะห์ ด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการพัฒนาด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม ชุดฝึกทักษะ 10 เล่ม แบบทดสอบ 11 ฉบับ รวม 130 ข้อ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ แบบประเมินการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่า t แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
- รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ “MOLSE Model ” มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Motivation for learning : M) (2) ขั้นจัดระเบียบการเรียนรู้ (Organizing
the learning : O) (3) ขั้นเรียนรู้ด้วยการคิด (Learning by thinking : L) (4) ขั้นสรุปความรู้ (Summarizing the knowledge : S) และ (5) ขั้นประเมินผล (Evaluating the result : E) ผลการพัฒนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.30/85.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7587 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.87 สูงกว่าเกณฑ์ 50 - ผลการเปรียบเทียบจากการพัฒนาด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ คือ (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมและ
ทั้ง 10 เรื่อง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนมีการคิด
แก้ปัญหาวิเคราะห์สังเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ
มีความสามารถด้านการประเมินผลและการตัดสินใจอยู่ในลำดับสูงที่สุด (3) นักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 และมีคุณลักษณะด้านความกล้าทางปัญญาที่จะเผชิญและเข้าถึงความคิดแตกต่าง
จากความคิดของตนเองอยู่ในลำดับสูงที่สุด
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์โดยใช้ชุดฝึกทักษะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอนด้านครูผู้สอน และด้านภาพรวมรูปแบบการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
ประกอบการพัฒนารูปแบบการสอน เรื่องที่ 2 การคิดวิเคราะห์จากข่าว
รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การอ่าน เวลา 20 ชั่วโมง
หน่วยย่อยที่ 2 เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว เวลา 2 ชั่วโมง
ผู้สอน นางรัศมี กันยานุช โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ทำการสอน ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10.00-11.00 น.
ครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 26 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09.00-10.00 น.
______________________________________________________________________
- สาระที่ 1 การอ่าน
- มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน - ตัวชี้วัด
ม.1/2 ตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน
ม.1/3 วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุก ๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
ม.1/5 วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่านและเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
ม.1/7 ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่าง ๆ ภายในเวลาที่กำหนด
ม.1/9 อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงาน
- สาระสำคัญ
ในยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งมีการแข่งขันในการนำเสนอข่าวของสื่อในแขนงต่างๆที่ต้องการให้ข่าวที่นำเสนอได้รับความสนใจจากผู้บริโภคข่าวทำให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงดังนั้นนักเรียนต้องรู้จักเลือกรับข้อมูลข่าวสารโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจสามารถนำผลจากการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ข่าวและข้อเท็จจริงไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้ถูกต้องเหมาะสม
- จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1 สามารถคิดวิเคราะห์จากข่าวที่กำหนดให้ได้
5.2 สามารถตอบคำถามจากการอ่านข่าวที่กำหนดให้ได้
- สาระการเรียนรู้
6.1 ความหมายของข่าว
6.2 องค์ประกอบของข่าว
6.3 ประเภทของข่าว
6.4 การอ่านวิเคราะห์จากข่าว
- สมรรถนะของผู้เรียน
7.1 ความสามารถในการสื่อสาร
7.2 ความสามารถในการคิด
7.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา
7.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
7.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
8.1 ซื่อสัตย์สุจริต
8.2 มีวินัย
8.3 ใฝ่เรียนรู้
8.4 ความมุ่งมั่นในการทำงาน
8.5 ความรับผิดชอบ
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่1การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Motivation for learning : M) - ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข่าวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์ และสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข่าว
- นักเรียนยกตัวอย่างประเด็นข่าวที่สังคมให้ความสนใจในปัจจุบัน
- ครูนำตัวอย่างหนังสือพิมพ์ และข่าวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตสั้นๆ ให้ตัวแทนนักเรียนอ่านข่าวให้เพื่อนฟัง
- ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับประเภทของข่าว องค์ประกอบข่าว วิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข่าวที่อ่าน
ขั้นที่ 2 จัดระเบียบการเรียนรู้ (Organizing the learning : O)
- แจกชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ชุดที่ 2 เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าวให้นักเรียนศึกษา โดยให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ก่อนเรียนและให้นักเรียนอ่านคำแนะนำสำหรับนักเรียนก่อนการเรียนรู้
- นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน จากนั้นตรวจคำตอบจากเฉลยหน้าถัดไป ในตอนนี้ครูเน้นให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
- ครูบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียน
- ครูแนะนำเนื้อหาความรู้จากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนศึกษาหาความรู้
- ให้นักเรียนศึกษาจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาความรู้ ปฏิบัติตามขั้นตอนการเรียนรู้จากคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งคัด
- ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนจบเนื้อหาของบทเรียนแล้วปฏิบัติกิจกรรมก่อนฝึกทักษะต่อไป
ขั้นที่ 3 เรียนรู้ด้วยการคิด (Learning by thinking : L)
แบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ครูกระตุ้นให้นักเรียนคิดตามลำดับของการคิดโดยมีการบันทึกการคิดด้วยบัตรบันทึกการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายของการคิด
นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างข่าวในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือข่าวออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตแล้วสนทนาซักถามถึงสาเหตุของข่าว กระตุ้นให้นักเรียนคิดศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับข่าวที่อ่านวิเคราะห์สังเคราะห์โดยกำหนดเป้าหมายของการคิดเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้นๆ โดยเสนอแนวทางในการอ่านข่าว
ขั้นที่ 2 การระบุปัญหา
นักเรียนช่วยกันคิดระบุปัญหาโดยครูกระตุ้นนักเรียนระบุปัญหาได้ตรงกับสถานการณ์ ในการอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าวได้
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
นักเรียนช่วยกันสรุปปัญหาในการคิดวิเคราะห์จากข่าวตามที่ระบุไว้ในขั้นการระบุปัญหา แล้วร่วมกันคาดคะเนปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าควรเป็นปัญหาอะไร แล้วสรุป
ขั้นที่ 4 การพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นักเรียนช่วยกันพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับในการคิดวิเคราะห์จากข่าวตามที่ได้ศึกษาค้นคว้าไว้ให้ตรงกับสถานการณ์จริงว่าควรมีข้อมูลอะไรบ้างแล้วสรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
ขั้นที่ 5 การประเมินผลและการตัดสินใจ
นักเรียนวิเคราะห์ผลที่จะเกิดตามมาของแต่ละทางเลือกในการแก้ปัญหา คิดไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปกลับมาอย่างรอบคอบ แล้วลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ระบุไว้ ตัดสินใจเลือกทางเลือกไปใช้ในการอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าว
ขั้นที่ 4 สรุปความรู้ (Summarizing the knowledge : S)
เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มคิดตามลำดับของการคิด โดยมีการบันทึกการคิดด้วยบัตรบันทึกการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้น เรียบร้อยแล้ว ฝึกทักษะจากชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6 และตรวจสอบเฉลยความก้าวหน้าของตนเอง
ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluating the result : E)
- นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ครูบันทึกคะแนนทดสอบหลังเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาสรุปเรื่อง การอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าว
และให้นักเรียนสรุปความรู้ตามแบบสรุปความรู้
- สื่อการเรียนรู้
10.1 ชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ชุดที่ 2 เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว
10.2 หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
10.3 ตัวอย่างข่าวประเภทต่าง ๆ
10.4 แบบสรุปความรู้
10.5 แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์
- หลักฐานการเรียนรู้
11.1 ชุดฝึกทักษะข้อที่ 1-6
11.2 การทำแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน
- การวัดและประเมินผล
12.1 ผู้ประเมิน ครูผู้สอน และเพื่อนนักเรียนในกลุ่มและต่างกลุ่ม
12.2 วิธีวัดผล
12.2.1 การทำชุดฝึกข้อที่ 1-6
12.2.2 การทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
12.2.3 การบันทึกแบบสรุปความรู้
12.2.4 การบันทึกแบบบันทึกการคิดวิเคราะห์
12.2.5 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม
12.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
12.3.1 กิจกรรมการฝึกทักษะ
12.3.2 การทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
12.3.3 แบบสรุปความรู้
12.3.4 แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์
12.3.5 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม
12.4 เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้
เครื่องมือวัดและประเมินผล |
รายการวัดและประเมินผล |
เกณฑ์การผ่าน |
1. แบบทดสอบก่อนเรียน |
คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน |
- |
2. ชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6 |
คะแนนจากการทำชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6 |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
3. แบบสรุปความรู้ |
คะแนนจากการทำแบบสรุปความรู้ |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
4. แบบบันทึกการคิด |
คะแนนจากการทำแบบบันทึกการคิดวิเคราะห์ |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
5. แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล เพื่อประเมิน คุณลักษณะของนักเรียน |
คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ความมุ่งมั่นในการทำงานและความรับผิดชอบ |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
6. แบบสังเกตพฤติกรรม รายกลุ่มเพื่อประเมิน การทำกิจกรรมกลุ่ม |
คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนด้านความร่วมมือกัน การแสดงความคิดเห็น ความตั้งใจในการทำงาน ทำงานเสร็จตามเวลาและการนำเสนอผลงาน |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
7. แบบทดสอบหลังเรียน |
คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน |
ร้อยละ 80 ขึ้นไป |
แบบสรุปความรู้เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว
ชื่อ …………………………………………………..…..ชั้น…………………… เลขที่……………………
คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว
.......................................................................................................................................................................................................................... |
......................................................................................................................................................................................................................... |
................................................................... |
แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์
รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ท21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว
กลุ่มที่ ....... ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/.......
- ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
- ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
- ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
- ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
- ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
บันทึกการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายของการคิด
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ขั้นที่ 2 การระบุปัญหา
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ขั้นที่ 4 การพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ขั้นที่ 5 การประเมินผลและการตัดสินใจ
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คำแนะนำสำหรับครู
๑. ครูเตรียมและสำรวจความพร้อมของชุดฝึกทักษะให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
๒. ครูศึกษาเนื้อหาและลำดับขั้นตอนของชุดฝึกทักษะให้เข้าใจชัดเจน
๓. ก่อนลงมือสอนหรือปฏิบัติกิจกรรมครูควรอธิบายให้นักเรียนทราบถึงจุดประสงค์ในการทำชุดฝึกทักษะแต่ละครั้งและให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของการทำ
ชุดฝึกทักษะ
๔. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนก่อนที่จะศึกษาชุดฝึกทักษะแต่ละเล่ม
ซึ่งในแต่ละเล่มจะมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๕. ให้นักเรียนทำชุดฝึกทักษะจากง่ายไปหายาก
๖. การทำชุดฝึกทักษะทุกครั้งนักเรียนควรมีส่วนร่วมเช่นร่วมคิดร่วมแสดงอภิปรายตรวจผลงานและสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๗. ขณะที่นักเรียนศึกษาชุดฝึกทักษะและปฏิบัติกิจกรรมครูควรคอยดูแล
อย่างใกล้ชิดหากมีนักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดสงสัยให้แนะนำเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น
๘. ครูควรมีการเสริมแรงแก่นักเรียนทุกครั้ง
๙. การทำชุดฝึกทักษะทุกครั้งต้องบันทึกผลเพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน
๑๐. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้งหนึ่ง
๑๑. การวัดและประเมินผลจากสภาพจริง
คำแนะนำสำหรับนักเรียน
๑. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้เข้าใจ
๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๓. ฝึกทักษะตามวิธีอ่านแบบ SQ๔R ซึ่งมี๖ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่๑ S (Survey) การอ่านเนื้อเรื่องอย่างคร่าวๆเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง
ขั้นที่๒ Q (Question) การตั้งคำถาม
ขั้นที่๓ R๑ (Read) การอ่านอย่างละเอียดเพื่อหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้
ขั้นที่๔ R๒ (Record) การจดบันทึกข้อมูลต่างๆตามความเข้าใจของตนเอง
ขั้นที่๕ R๓ (Recite) การเขียนสรุปใจความสำคัญโดยใช้ถ้อยคำของตนเอง
ขั้นที่๖ R๔ (Reflect) การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านแล้วแสดงความคิดเห็น
หากนักเรียนไม่เข้าใจหรือตอบคำถามไม่ได้ให้ย้อนกลับไปอ่านเนื้อหา
ชุดฝึกทักษะใหม่อีกครั้งแล้วตอบใหม่หรือทำกิจกรรมนั้นใหม่หรือขอคำแนะนำ
จากครู
๔. นักเรียนตรวจคำตอบด้วยตนเองหรือแลกเปลี่ยนกันตรวจกับเพื่อน
โดยครูเป็นผู้แนะนำ
๕. ทำแบบทดสอบหลังเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. สามารถคิดวิเคราะห์ข่าวที่กำหนดให้ได้
๒. สามารถตอบคำถามจากการอ่านข่าวที่กำหนดให้ได้
แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้วกาเครื่องหมาย (X)ลงในกระดาษคำตอบ
๑. องค์ประกอบใดของข่าวส่วนใดที่สามารถทาให้เราอ่านข่าวแล้วรู้เรื่องได้โดยตลอด
ก. พาดหัวข่าว ข.ความนำ
ค. เนื้อข่าว ง. ส่วนเชื่อม
๒. ข่าวในข้อใดจัดเป็นข่าวหนัก
ก. ผลวิจัยพบวงการสีกากีมีส่งส่วยนาย-ซื้อตำแหน่งจริง
ข. แข้งแซมบ้าซวยน้องหมางับขาศึกบอลลีกบราซิล
ค.แม่สอน 'นฉัตร' มิสไทยแลนด์เวิลด์อย่าสร้างความเดือดร้อน
ง. คนดังแต่งองค์ประชันโฉมชมแฟชั่นโชว์ 'Marc Jacobs'
๓. ถ้าผู้อ่านมีเวลาน้อยควรอ่านข่าวในหัวข้อใดจึงจะสามารถทราบเนื้อหาของข่าวได้
ก. พาดหัวข่าว ข. เนื้อข่าว
ค. ส่วนเชื่อม ง. ความนำ
๔.เมื่อนักเรียนอ่านข่าวข่าวเดียวกันจากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับมักพบว่าส่วนใด
ของข่าวที่มีความแตกต่างกัน
ก. พาดหัวข่าว ข. เนื้อข่าว
ค. ส่วนเชื่อม ง. ความนำ
๕. สำนวนภาษาในการเขียนข่าวที่มักพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดจากสาเหตุข้อใด
ก. การขาดความรับผิดชอบในการใช้ภาษา
ข. การขาดความรู้ของนักข่าว
ค. ขาดการตรวจทานต้นฉบับ
ง. ความเร่งรีบในเรื่องของเวลา
๖. ส่วนใดของข่าวที่เราไม่จาเป็นต้องอ่านก็สามารถรู้เรื่องของข่าวนั้นได้โดยตลอด
ก. พาดหัวข่าว ข. ส่วนเชื่อม
ค.เนื้อข่าว ง. ความนำ
๗. การใช้ภาษาของข่าวในข้อใดเป็นการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านข่าว
ก. การใช้คาสแลงคาเฉพาะสมัยหรือคาที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง
ข. การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล
ค. การตัดคำหรือกร่อนคำ
ง. การละประธานของประโยค
๘. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทาให้ประชาชนสนใจข่าวน้าท่วมที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔
มากที่สุด
ก. ความสดใหม่
ข. ความใกล้ชิด
ค. ผลกระทบกระเทือน
ง. ความขัดแย้ง
๙. ข้อใดเรียงลาดับความสำคัญของการนำเสนอข่าวได้ถูกต้อง
๑. พาดหัวข่าวหรือหัวเรื่อง (Headline)
๒. ส่วนความนำ (Lead)
๓. ส่วนเชื่อม (Neck)
๔. ส่วนเนื้อหา (Body)
ก. ๑-๒-๓-๔ ข. ๑-๓-๒-๔
ค. ๒-๑-๓-๔ ง. ๒-๑-๔-๓
๑๐. โครงสร้างของข่าวในข้อใดที่ขาดหายไปแล้วไม่ทำให้ข่าวนั้นขาดความชัดเจน
ก. พาดหัวข่าวหรือหัวเรื่อง (Headline)
ข. ส่วนความนำ (Lead)
ค. ส่วนเชื่อม (Neck)
ง. ส่วนเนื้อหา (Body)
กระดาษคำตอบ
คำชี้แจงให้นักเรียนกาเครื่องหมายกากบาท(X)ลงในช่องคำตอบที่เลือกตอบ
ข้อ |
ก |
ข |
ค |
ง |
๑ |
|
|
|
|
๒ |
|
|
|
|
๓ |
|
|
|
|
๔ |
|
|
|
|
๕ |
|
|
|
|
๖ |
|
|
|
|
๗ |
|
|
|
|
๘ |
|
|
|
|
๙ |
|
|
|
|