การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

09/07/2020 เข้าชมแล้ว : 6221

pornpimon 

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

ผู้วิจัย          นางพรพิมล  พาณิชย์  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา   โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

ปีที่วิจัย        พ.ศ. 2562

 

            การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (2) เพื่อสร้างและทดลองใช้การเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA  Model) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 70 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ และความคงทนในการเรียนรู้ หลังเรียน 2 สัปดาห์ และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คือ เอกสารที่เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 40 คน  ครูโรงเรียนเมืองสมเด็จ จำนวน 12 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัย คือ  แบบบันทึกเอกสารและสรุปความ  แบบสัมภาษณ์นักเรียนและครูผู้สอน (2) แหล่งข้อมูลที่ใช้ ในการสร้างและการทดลองใช้การเรียนรู้ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักเรียนที่ใช้ในการสร้างและทดลองใช้ทั้งแบบรายบุคคลหรือแบบเดี่ยว จำนวน 3 คน  แบบกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน และแบบกลุ่มใหญ่ จำนวน 31 คน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้เครื่องมือ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA  Model) จำนวน 16 แผน  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 16 เล่ม และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (3) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้จริง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 29 คน ใช้เครื่องมือเหมือนกับขั้นการทดลองใช้ เรื่องละ 1 ชั่วโมง รวมเวลาเรียน 16 ชั่วโมง (4) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  ใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่า t  (Dependent  samples)  ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้

 

  1. สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา พบว่า เนื้อหาที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มากที่สุด ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    ขาดความใส่ใจจากผู้ปกครอง ความรู้ความสามารถตรงกับวิชาเอกที่สอน ครูส่วนใหญ่สอนตรงสาขากับวิชาเอกร้อยละ 70 แต่คาบสอนมากเกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีงานพิเศษค่อนข้างมาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูคณิตศาสตร์ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยนำทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA  Model) และแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มาใช้ เพราะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด
  2. การสร้างและทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้ด้วยรูปแบบการสอน พบว่า (1) การทดลองใช้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.29/76.67 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 จึงควรนำไปปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน (2) การทดลองใช้แบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.81/80.37 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ควรปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง และ (3) การทดลองใช้แบบกลุ่มใหญ่ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.06/82.58 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงว่า สามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA  Model) และแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  ไปใช้สอนจริงได้อย่างมีคุณภาพ
  3. ผลการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า (1) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.08/85.97 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 (2) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7636 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 76.36 สูงกว่าเกณฑ์ 70 และประสิทธิผลอยู่ในระดับดี (3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ (4) นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ โดยนักเรียนมีคะแนนลดลงเพียงร้อยละ 0.34
  4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการได้รับความรู้จากรูปแบบการสอน ด้านรูปแบบการสอน ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์