การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะ

22/02/2017 เข้าชมแล้ว : 6906
Last Modified : 23/02/2017

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์รายวิชาภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะ

ผู้ศึกษา           นางรัศมี  กันยานุช  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา      โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ  จังหวัดกาฬสินธุ์

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2559

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการคิดแก้ปัญหาวิเคราะห์สังเคราะห์  ด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการพัฒนาด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2558 จำนวน 47 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม ชุดฝึกทักษะ 10 เล่ม  แบบทดสอบ 11 ฉบับ รวม 130 ข้อ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์  แบบประเมินการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์  และ แบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การทดสอบค่า t  แบบไม่อิสระ  และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ “MOLSE Model ” มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Motivation for learning : M) (2) ขั้นจัดระเบียบการเรียนรู้ (Organizing
    the learning : O) (3) ขั้นเรียนรู้ด้วยการคิด (Learning by thinking : L) (4) ขั้นสรุปความรู้ (Summarizing the knowledge : S) และ (5) ขั้นประเมินผล (Evaluating the result : E) ผลการพัฒนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.30/85.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7587 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.87 สูงกว่าเกณฑ์ 50
  2. ผลการเปรียบเทียบจากการพัฒนาด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ คือ (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมและ

ทั้ง 10 เรื่อง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2)  นักเรียนมีการคิด

แก้ปัญหาวิเคราะห์สังเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ

มีความสามารถด้านการประเมินผลและการตัดสินใจอยู่ในลำดับสูงที่สุด (3) นักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ระดับ .01 และมีคุณลักษณะด้านความกล้าทางปัญญาที่จะเผชิญและเข้าถึงความคิดแตกต่าง

จากความคิดของตนเองอยู่ในลำดับสูงที่สุด

  1. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์โดยใช้ชุดฝึกทักษะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอนด้านครูผู้สอน และด้านภาพรวมรูปแบบการสอน

 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2

ประกอบการพัฒนารูปแบบการสอน  เรื่องที่  2  การคิดวิเคราะห์จากข่าว

รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน   รหัสวิชา ท21101                                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  การอ่าน                                               เวลา    20   ชั่วโมง
หน่วยย่อยที่  2  เรื่อง  การคิดวิเคราะห์จากข่าว                                    เวลา      2   ชั่วโมง

ผู้สอน         นางรัศมี  กันยานุช    โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ  จังหวัดกาฬสินธุ์
ทำการสอน  ครั้งที่  1  วันศุกร์ที่  22  เดือน  พฤษภาคม พ.ศ. 2558  เวลา  10.00-11.00   น. 
               ครั้งที่  2 วันอังคารที่ 26 เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. 2558  เวลา 09.00-10.00   น. 

______________________________________________________________________

  1. สาระที่ 1  การอ่าน
  2. มาตรฐานการเรียนรู้
    มาตรฐาน  ท 1.1    ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
  3. ตัวชี้วัด
    ม.1/2        ตีความ  แปลความ  และขยายความเรื่องที่อ่าน
    ม.1/3        วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุก ๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
    ม.1/5        วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่านและเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
    ม.1/7         ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่าง ๆ  ภายในเวลาที่กำหนด
    ม.1/9        อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ  และรายงาน
  1. สาระสำคัญ
    ในยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งมีการแข่งขันในการนำเสนอข่าวของสื่อในแขนงต่างๆที่ต้องการให้ข่าวที่นำเสนอได้รับความสนใจจากผู้บริโภคข่าวทำให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงดังนั้นนักเรียนต้องรู้จักเลือกรับข้อมูลข่าวสารโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจสามารถนำผลจากการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ข่าวและข้อเท็จจริงไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้ถูกต้องเหมาะสม
  1. จุดประสงค์การเรียนรู้
    5.1  สามารถคิดวิเคราะห์จากข่าวที่กำหนดให้ได้
    5.2  สามารถตอบคำถามจากการอ่านข่าวที่กำหนดให้ได้
  1. สาระการเรียนรู้
    6.1  ความหมายของข่าว
    6.2  องค์ประกอบของข่าว
    6.3  ประเภทของข่าว
    6.4  การอ่านวิเคราะห์จากข่าว
  1. สมรรถนะของผู้เรียน
    7.1  ความสามารถในการสื่อสาร
    7.2  ความสามารถในการคิด
    7.3  ความสามารถในการแก้ปัญหา
    7.4  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
    7.5  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
    8.1  ซื่อสัตย์สุจริต
    8.2  มีวินัย
    8.3  ใฝ่เรียนรู้
    8.4  ความมุ่งมั่นในการทำงาน
    8.5  ความรับผิดชอบ
  1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
               ขั้นที่1การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้  (Motivation for learning : M)
  2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข่าวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์     และสื่อต่าง ๆ  ที่นำเสนอข่าว
  3. นักเรียนยกตัวอย่างประเด็นข่าวที่สังคมให้ความสนใจในปัจจุบัน
  4. ครูนำตัวอย่างหนังสือพิมพ์  และข่าวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตสั้นๆ  ให้ตัวแทนนักเรียนอ่านข่าวให้เพื่อนฟัง
  5. ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับประเภทของข่าว  องค์ประกอบข่าว  วิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข่าวที่อ่าน

           ขั้นที่  2  จัดระเบียบการเรียนรู้  (Organizing the learning : O)

  1. แจกชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ชุดที่ 2 เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าวให้นักเรียนศึกษา  โดยให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ  ก่อนเรียนและให้นักเรียนอ่านคำแนะนำสำหรับนักเรียนก่อนการเรียนรู้
  2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์  เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน  จากนั้นตรวจคำตอบจากเฉลยหน้าถัดไป ในตอนนี้ครูเน้นให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
  3. ครูบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียน
  4. ครูแนะนำเนื้อหาความรู้จากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์  เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนศึกษาหาความรู้
  5. ให้นักเรียนศึกษาจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาความรู้ ปฏิบัติตามขั้นตอนการเรียนรู้จากคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งคัด
  1. ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนจบเนื้อหาของบทเรียนแล้วปฏิบัติกิจกรรมก่อนฝึกทักษะต่อไป

           ขั้นที่  3  เรียนรู้ด้วยการคิด  (Learning by thinking : L)

               แบ่งนักเรียนออกเป็น  8  กลุ่ม ครูกระตุ้นให้นักเรียนคิดตามลำดับของการคิดโดยมีการบันทึกการคิดด้วยบัตรบันทึกการคิดวิเคราะห์  5  ขั้น ดังนี้
               ขั้นที่  1  การกำหนดเป้าหมายของการคิด

                   นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างข่าวในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือข่าวออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตแล้วสนทนาซักถามถึงสาเหตุของข่าว กระตุ้นให้นักเรียนคิดศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับข่าวที่อ่านวิเคราะห์สังเคราะห์โดยกำหนดเป้าหมายของการคิดเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้นๆ โดยเสนอแนวทางในการอ่านข่าว

               ขั้นที่  2  การระบุปัญหา

                   นักเรียนช่วยกันคิดระบุปัญหาโดยครูกระตุ้นนักเรียนระบุปัญหาได้ตรงกับสถานการณ์  ในการอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าวได้

 ขั้นที่  3  การตั้งสมมติฐาน

                   นักเรียนช่วยกันสรุปปัญหาในการคิดวิเคราะห์จากข่าวตามที่ระบุไว้ในขั้นการระบุปัญหา แล้วร่วมกันคาดคะเนปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าควรเป็นปัญหาอะไร แล้วสรุป

               ขั้นที่  4  การพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

                   นักเรียนช่วยกันพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับในการคิดวิเคราะห์จากข่าวตามที่ได้ศึกษาค้นคว้าไว้ให้ตรงกับสถานการณ์จริงว่าควรมีข้อมูลอะไรบ้างแล้วสรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา

               ขั้นที่  5  การประเมินผลและการตัดสินใจ

                   นักเรียนวิเคราะห์ผลที่จะเกิดตามมาของแต่ละทางเลือกในการแก้ปัญหา คิดไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปกลับมาอย่างรอบคอบ แล้วลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ระบุไว้ ตัดสินใจเลือกทางเลือกไปใช้ในการอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าว

           ขั้นที่  4  สรุปความรู้  (Summarizing the knowledge : S)

               เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มคิดตามลำดับของการคิด โดยมีการบันทึกการคิดด้วยบัตรบันทึกการคิดวิเคราะห์  5  ขั้น  เรียบร้อยแล้ว  ฝึกทักษะจากชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6  และตรวจสอบเฉลยความก้าวหน้าของตนเอง

           ขั้นที่  5  ประเมินผล  (Evaluating the result : E)

  1. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจากชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ครูบันทึกคะแนนทดสอบหลังเรียน
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาสรุปเรื่อง การอ่านวิเคราะห์สังเคราะห์จากข่าว

และให้นักเรียนสรุปความรู้ตามแบบสรุปความรู้ 

  1. สื่อการเรียนรู้

           10.1  ชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ชุดที่  2  เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว

           10.2  หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
           10.3  ตัวอย่างข่าวประเภทต่าง ๆ
           10.4  แบบสรุปความรู้
           10.5  แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์

  1. หลักฐานการเรียนรู้

           11.1  ชุดฝึกทักษะข้อที่ 1-6
           11.2   การทำแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน

  1. การวัดและประเมินผล
    12.1  ผู้ประเมิน  ครูผู้สอน  และเพื่อนนักเรียนในกลุ่มและต่างกลุ่ม
               12.2  วิธีวัดผล
                   12.2.1  การทำชุดฝึกข้อที่ 1-6
                   12.2.2  การทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

               12.2.3  การบันทึกแบบสรุปความรู้

               12.2.4  การบันทึกแบบบันทึกการคิดวิเคราะห์

               12.2.5  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม

           12.3  เครื่องมือวัดและประเมินผล
               12.3.1  กิจกรรมการฝึกทักษะ
               12.3.2  การทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

               12.3.3  แบบสรุปความรู้

               12.3.4  แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์

               12.3.5  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม
           12.4  เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้

เครื่องมือวัดและประเมินผล

รายการวัดและประเมินผล

เกณฑ์การผ่าน

1. แบบทดสอบก่อนเรียน

คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน

-

2. ชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6

คะแนนจากการทำชุดฝึกทักษะขั้นที่ 1-6

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

3. แบบสรุปความรู้

คะแนนจากการทำแบบสรุปความรู้

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

4. แบบบันทึกการคิด
    วิเคราะห์สังเคราะห์

คะแนนจากการทำแบบบันทึกการคิดวิเคราะห์

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

5. แบบสังเกตพฤติกรรม

    รายบุคคล เพื่อประเมิน    

    คุณลักษณะของนักเรียน

คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ความมุ่งมั่นในการทำงานและความรับผิดชอบ

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

6. แบบสังเกตพฤติกรรม

    รายกลุ่มเพื่อประเมิน

    การทำกิจกรรมกลุ่ม

คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนด้านความร่วมมือกัน  การแสดงความคิดเห็น  ความตั้งใจในการทำงาน ทำงานเสร็จตามเวลาและการนำเสนอผลงาน

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

7. แบบทดสอบหลังเรียน

คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

แบบสรุปความรู้เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว

ชื่อ …………………………………………………..…..ชั้น…………………… เลขที่……………………

คำชี้แจง  ให้นักเรียนสรุปความรู้  เรื่อง การคิดวิเคราะห์จากข่าว

..........................................................................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................................................................

................................................................... 


 แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์

รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ท21101  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

เรื่อง  การคิดวิเคราะห์จากข่าว 
กลุ่มที่ .......  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/.......

  1. ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
  2. ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
  3. ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
  4. ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............
  5. ชื่อ.......................................................................................... เลขที่............ 

 

บันทึกการคิดวิเคราะห์  5  ขั้น
ขั้นที่  1  การกำหนดเป้าหมายของการคิด

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 ขั้นที่  2  การระบุปัญหา
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 ขั้นที่ 3  การตั้งสมมติฐาน
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 ขั้นที่  4  การพิจารณาใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 ขั้นที่ 5  การประเมินผลและการตัดสินใจ

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

คำแนะนำสำหรับครู

        ๑. ครูเตรียมและสำรวจความพร้อมของชุดฝึกทักษะให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

        ๒. ครูศึกษาเนื้อหาและลำดับขั้นตอนของชุดฝึกทักษะให้เข้าใจชัดเจน

        ๓. ก่อนลงมือสอนหรือปฏิบัติกิจกรรมครูควรอธิบายให้นักเรียนทราบถึงจุดประสงค์ในการทำชุดฝึกทักษะแต่ละครั้งและให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของการทำ

ชุดฝึกทักษะ

        ๔. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนก่อนที่จะศึกษาชุดฝึกทักษะแต่ละเล่ม

ซึ่งในแต่ละเล่มจะมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

        ๕. ให้นักเรียนทำชุดฝึกทักษะจากง่ายไปหายาก

        ๖. การทำชุดฝึกทักษะทุกครั้งนักเรียนควรมีส่วนร่วมเช่นร่วมคิดร่วมแสดงอภิปรายตรวจผลงานและสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง

        ๗. ขณะที่นักเรียนศึกษาชุดฝึกทักษะและปฏิบัติกิจกรรมครูควรคอยดูแล

อย่างใกล้ชิดหากมีนักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดสงสัยให้แนะนำเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น

        ๘. ครูควรมีการเสริมแรงแก่นักเรียนทุกครั้ง

        ๙. การทำชุดฝึกทักษะทุกครั้งต้องบันทึกผลเพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน

        ๑๐. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้งหนึ่ง

        ๑๑. การวัดและประเมินผลจากสภาพจริง

 

          

คำแนะนำสำหรับนักเรียน

         ๑. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้เข้าใจ

        ๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

        ๓. ฝึกทักษะตามวิธีอ่านแบบ SQ๔R ซึ่งมี๖ขั้นตอนดังนี้

               ขั้นที่๑ S (Survey) การอ่านเนื้อเรื่องอย่างคร่าวๆเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง

               ขั้นที่๒ Q (Question) การตั้งคำถาม

               ขั้นที่๓ R๑ (Read) การอ่านอย่างละเอียดเพื่อหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้

               ขั้นที่๔ R๒ (Record) การจดบันทึกข้อมูลต่างๆตามความเข้าใจของตนเอง

               ขั้นที่๕ R๓ (Recite) การเขียนสรุปใจความสำคัญโดยใช้ถ้อยคำของตนเอง

               ขั้นที่๖ R๔ (Reflect) การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านแล้วแสดงความคิดเห็น

        หากนักเรียนไม่เข้าใจหรือตอบคำถามไม่ได้ให้ย้อนกลับไปอ่านเนื้อหา

ชุดฝึกทักษะใหม่อีกครั้งแล้วตอบใหม่หรือทำกิจกรรมนั้นใหม่หรือขอคำแนะนำ

จากครู

    ๔. นักเรียนตรวจคำตอบด้วยตนเองหรือแลกเปลี่ยนกันตรวจกับเพื่อน

        โดยครูเป็นผู้แนะนำ

        ๕. ทำแบบทดสอบหลังเรียน

 จุดประสงค์การเรียนรู้

 ๑.  สามารถคิดวิเคราะห์ข่าวที่กำหนดให้ได้

๒.  สามารถตอบคำถามจากการอ่านข่าวที่กำหนดให้ได้

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

 คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้วกาเครื่องหมาย (X)ลงในกระดาษคำตอบ

        ๑. องค์ประกอบใดของข่าวส่วนใดที่สามารถทาให้เราอ่านข่าวแล้วรู้เรื่องได้โดยตลอด

               ก. พาดหัวข่าว                        ข.ความนำ

               ค. เนื้อข่าว                            ง. ส่วนเชื่อม

        ๒. ข่าวในข้อใดจัดเป็นข่าวหนัก

               ก. ผลวิจัยพบวงการสีกากีมีส่งส่วยนาย-ซื้อตำแหน่งจริง

               ข. แข้งแซมบ้าซวยน้องหมางับขาศึกบอลลีกบราซิล

               ค.แม่สอน 'นฉัตร' มิสไทยแลนด์เวิลด์อย่าสร้างความเดือดร้อน

               ง. คนดังแต่งองค์ประชันโฉมชมแฟชั่นโชว์ 'Marc Jacobs'

        ๓. ถ้าผู้อ่านมีเวลาน้อยควรอ่านข่าวในหัวข้อใดจึงจะสามารถทราบเนื้อหาของข่าวได้

               ก. พาดหัวข่าว                    ข. เนื้อข่าว

               ค. ส่วนเชื่อม                      ง. ความนำ

        ๔.เมื่อนักเรียนอ่านข่าวข่าวเดียวกันจากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับมักพบว่าส่วนใด

        ของข่าวที่มีความแตกต่างกัน

               ก. พาดหัวข่าว                    ข. เนื้อข่าว

               ค. ส่วนเชื่อม                      ง. ความนำ

        ๕. สำนวนภาษาในการเขียนข่าวที่มักพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดจากสาเหตุข้อใด

               ก. การขาดความรับผิดชอบในการใช้ภาษา

               ข. การขาดความรู้ของนักข่าว

               ค. ขาดการตรวจทานต้นฉบับ

               ง. ความเร่งรีบในเรื่องของเวลา

        ๖. ส่วนใดของข่าวที่เราไม่จาเป็นต้องอ่านก็สามารถรู้เรื่องของข่าวนั้นได้โดยตลอด

               ก. พาดหัวข่าว                               ข. ส่วนเชื่อม

               ค.เนื้อข่าว                                     ง. ความนำ

        ๗. การใช้ภาษาของข่าวในข้อใดเป็นการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านข่าว

               ก. การใช้คาสแลงคาเฉพาะสมัยหรือคาที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง

               ข. การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล

               ค. การตัดคำหรือกร่อนคำ

               ง. การละประธานของประโยค

        ๘. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทาให้ประชาชนสนใจข่าวน้าท่วมที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔

        มากที่สุด

               ก. ความสดใหม่                     

               ข. ความใกล้ชิด

               ค. ผลกระทบกระเทือน            

               ง. ความขัดแย้ง

        ๙. ข้อใดเรียงลาดับความสำคัญของการนำเสนอข่าวได้ถูกต้อง

                   ๑. พาดหัวข่าวหรือหัวเรื่อง (Headline)

                   ๒. ส่วนความนำ (Lead)

                   ๓. ส่วนเชื่อม (Neck)

                   ๔. ส่วนเนื้อหา (Body)

                ก. ๑-๒-๓-๔                                     ข. ๑-๓-๒-๔

               ค. ๒-๑-๓-๔                                    ง. ๒-๑-๔-๓

        ๑๐. โครงสร้างของข่าวในข้อใดที่ขาดหายไปแล้วไม่ทำให้ข่าวนั้นขาดความชัดเจน

               ก. พาดหัวข่าวหรือหัวเรื่อง (Headline)

               ข. ส่วนความนำ (Lead)

               ค. ส่วนเชื่อม (Neck)

               ง. ส่วนเนื้อหา (Body)

 

กระดาษคำตอบ

 คำชี้แจงให้นักเรียนกาเครื่องหมายกากบาท(X)ลงในช่องคำตอบที่เลือกตอบ

ข้อ

ก